วัดญาณสังวราราม ชลบุรี
วัดญาณสังวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารตั้งอยู่ที่ อำเภอบางละมุง จังหวัด ชลบุรีสร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๕๑๙ นายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธิวดี อันตระการ พร้อมด้วยบุตรธิดา มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดิน จำนวน ๑๐๐ ไร่ ๑ งาน ๙๒ ตารางวาแด่สมเด็จพระญาณสังวรเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร(ปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๒ ปัจจุบัน)เพื่อสร้างวัดในพระพุทธศาสนา และปรารถนาให้มีนามตามทินนามสมณศักดิ์ของสมเด็จฯ วัดนี้จึงมีชื่อว่าวัดญาณสังวราราม วัดญาณสังวรารามถือเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากคณะผู้สร้างวัดได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิม พระชนม พรรษาครบ ๕ รอบ วัดนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระกรุณานานัปการจากองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ทรงอุปถัมภ์ในการก่อสร้างตลอดมาและทรงรับเป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นวัดในพระองค์อีกด้วย
สิ่งสำคัญในวัดญาณสังวราราม
พระอุโบสถ
สร้างดัดแปลงจากแบบพระอุโบสถคณะรังษีวัดบวรนิเวศวิหารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงวางศิลา พระฤกษ์ สร้างเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๓ภายในประดิษฐานพระประธานมีพระนามว่าสมเด็จ พระพุทธญาณนเรศวร์ที่ เศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์พระประธานสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ที่วัดบวรนิเวศวิหารส่วนพระอุโบสถคณะผู้สร้างวัดได้ร่วมใจ กันสร้างเพื่อ น้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้นามนี้โดยมีความหมายว่าพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระมหาจักรีพระบรมธาตุเจดีย์สร้างขึ้น เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และพระบรมราชวงศ์ จักรีสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้างพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาพระฤกษ์ สร้างเมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๐พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ มีความสูง ๓๙ เมตร ฐานกว้าง ๓๙ เมตร ฐานชั้นล่างเป็นห้องโถงสำหรับการบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆมีพระพุทธรูป ภปร.ปางประทานพรเป็นองค์ พระประธานพร้อมโต๊ะหมู่บูชามีพระนามาภิไธยย่อ สว.ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงถวายไว้ ชั้นที่ ๒ เป็นโถงสำหรับ ที่ประชุมสงฆ์ เป็นที่ปฏิบัติสมาธิภาวนาชั้นที่ ๓ เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระมหามณฑปพระพุทธบาทภปร.ฃสก.
สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลส่งเสริมพระบุญญาธิการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบนยอดเขาแก้วประดิษฐานรอยพระพุทธบาทคู่ซึ่งแกะสลักบน แผ่นศิลาทึบลักษณะ พระมณฑปเป็นมณฑป ๒ ชั้นชั้นล่างแบ่งเป็นสองตอนส่วนที่ ๑ เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ส่วนที่ ๒ เป็นถังเก็บน้ำสะอาดเพื่อการ บริโภคชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทคู่ที่องค์พระมณฑปประดับด้วยโมเสกสีทองซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานจากโมเสกที่รื้อออกจากองค์พระเจดีย์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังเมื่อ คราวปฏิสังขรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางศิลาพระฤกษ์เมื่อวันพุธที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๗
เจดีย์พุทธคยาจำลอง
พระเจดีย์พุทธคยา ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอ่างเก็บน้ำ ในบริเวณวัดญาณสังวรารามฯ มีทางรถยนต์เข้าถึงองค์พระเจดีย์ได้ในด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าหลักของอาคาร พระเจดีย์พุทธคยาแห่งนี้ มีผังพื้นเป็นแบบสมมาตร รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความกว้างยาวเท่ากันด้านละ ๒๒.๕๐ เมตร ล้อมรอบด้วยพระระเบียง ซึ่งวัดในช่องฐานรอบนอกได้กว้างยาวเท่ากันด้านละ ๔๒ เมตร พื้นที่ระหว่างองค์พระเจดีย์กับพระระเบียงเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ให้แสงสว่างกับอาคารทั้งด้านในของพระระเบียงและด้านนอกขององค์พระเจดีย์ นอกจากนั้น ยังมีกำแพงแก้วย่อมุมไม้สิบสองล้อมรอบพระระเบียงอีกทอดหนึ่ง วัดความกว้างรอบนอกได้ กว้างด้านละ ๖๖ เมตร พระเจดีย์องค์นี้ มีทางเข้า ๔ ด้าน ซึ่งตั้งอยู่กลางพระระเบียงทั้ง ๔ ทิศ โดยทิศตะวันออกถือเป็นทางเข้าหลัก
อริยาคาร พิพิธภัณฑ์อริยสงฆ์
จัดแสดงรูปเหมือนของพระอริยสงฆ์ชื่อดังมากมาย ซึ่งพระอริยสงฆ์แต่ละรูปล้วนมีจริยาวัตรที่งดงาม มีโอวาทธรรมที่ให้พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฎิบัติสืบต่อมาอย่างมิเสื่อมคลาย นอกจากจะได้สัมผัสจริยาวัตรที่งดงามของพระอริยสงฆ์แต่ละรูปผ่านฉากและการเล่าเรื่องราวแล้ว ยังสามารถเรียนรู้โอวาทธรรมคำสอนต่างๆของพระอริยสงฆ์แต่ละรูปได้ด้วยตัวเอง ด้วยคำบรรยาย คำสอน 3 ภาษา
พระตำหนักทรงไทย
ประกอบด้วยพระตำหนัก ๔ หลังตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดเยื้องกับพระบรมธาตุเจดีย์ไปทางทิศเหนือเล็กน้อยสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบสำหรับเป็นที่เสด็จประทับปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามพระราชอัธยาศัย
ศาลาอเนกกุศลสว.กว.
สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์พระประธานประจำศาลาคือ พระพุทธชินราชสีหศาสดาเป็นพระพุทธรูปที่ดัดแปลงจากแบบพระ ภปร.ปางประทานพรเป็น พระภปร.ปางสมาธิ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
ศาลานานาชาติ หรือ ศาลามังกรเล่นน้ำ
เป็นศาลาขนาดเล็กตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำ มี ๗ หลัง คือศาลาไทยภาคกลาง ศาลาไทยล้านนา ศาลาจีนหลังคามังกร ศาลาจีนหลังหงส์ ศาลาฝรั่ง ศาลาอินเดีย และศาลาญี่ปุ่นศาลาแต่ละหลังแสดงถึงศิลปะสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาของชาติต่างๆ และ แต่ละ ศาลามีรูปมังกรเล่นน้ำประดับเป็นสัญลักษณ์ทุกศาลาอันเป็นสิ่งที่หมายถึงน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรทุกถ้วนหน้าแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช