• หน้าแรก
  • วัดราชบูรณะ ชมภาพจิตรกรรมฝาฝนัง สมัยอยุธยาตอนต้น

วัดราชบูรณะ ชมภาพจิตรกรรมฝาฝนัง สมัยอยุธยาตอนต้น

วัดราชบูรณะ  ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยาภายในวัดประกอบด้วยองค์ปรางค์ประธาน ซึ่งล้อมรอบด้วย ระเบียงคต มีพระวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัดทางทิศตะวันตกในแนวประธานเดียวกันวัดราชบูรณะโด่งดังมากในเรื่องการขุดพบเครื่องทองมากมายในกรุพระปรางค์ใหญ่และประชาชนยังสามารถลงไปชมภาพจิตรกรรมฝาฝนังสมัยอยุธยาตอนต้น วัดราชบูรณะ นักท่องเที่ยวนิยมเข้าเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ

วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ

ประวัติวัดราชบูรณะ


วัดราชบูรณะ ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารว่า สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒หรือ เจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ คือภายหลังจากสมเด็จพระนครินทราธิราชาสวรรคตพระราชโอรสองค์ใหญ่สองพระองค์ คือเจ้าอ้ายพระยา ทรงครองเมืองสุพรรณบุรีและเจ้ายี่พระยาทรงครองเมืองสรรค์บุรี สองพระองค์เสด็จลงมาชิงพระราชสมบัติกันเองต่างทรงช้างเคลื่อนผลมาปะทะกัน ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกันเจ้าสามพระยาทรงเป็นโอรสองค์ที่สาม เสด็จลงมาจากชัยนาทมาถึงภายหลัง จึงได้เสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เมื่อเจ้าสามพระยาทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงจัดการถวายเพลิงพระศพ พระเชษฐาธิราชทั้งสองพระองค์พร้อมกัน สถานที่ที่ถวายพระเพลิงนั้น ก็ทรงอุทิศสร้างพระปรางค์และพระวิหารมีนามว่า เจดีย์เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา

วัดราชบูรณะ

โบราณสถานที่น่าสนใจในวัดราชบูรณะ

ปรางค์ประธาน 

ปรางค์ประธาน มีขนาดสูงใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงบนฐานสี่เหลี่ยมซึ่งมีเจดีย์อยู่ทั้งสี่ทิศ มีบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์ทางทิศตะวันออกถือเป็นปรางค์แบบไทยที่นิยมทำฐานสูง ต่างจากปรางค์แบบขอมที่มักมีฐานเตี้ย นอกจากนี้หน้าปรางค์เป็นมุขใหญ่ยืนออกมาเป็นห้องคูหา ส่วนยอดเรียวแหลมสูง คล้ายฝักข้าวโพด ยอดมีฝักเพกาในขณะที่ขอมไม่มี

วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ

กรุมหาสมบัติภายในพระปรางค์ประธาน

จะมี 2 ตอน คือตอนที่เป็นเรือนธาตุ และตอนกลางองค์พระปรางค์กรุชั้นบนสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 5 เมตร มีลักษณะเป็นกรุสี่เหสี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ 4 เมตร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนต้น มีภาพเทพชุมนุมลอยอยู่บางองค์มีดอกไม้เป็นก้านชูออกไปข้างหน้า ลวดลายเครื่องประดับต่างๆมีลักษณะแบบศิลปะ สุโขทัย และมีรูปกษัตริย์ หรือนักรบจีนองค์หนึ่งสวมชุดเขียวองค์หนึ่งสวมชุดขาว และอีกองค์สวมชุดแดง ภาพแสดงเป็นเรื่องราว กรุชั้นล่างอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2.20 เมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ1.20 เมตร สูง 2.65 เมตรฝาผนังกรุชั้นล่างเจาะลึกเข้าไปเป็นช่องคูหาทั้ง 4 ด้าน เพดานเขียนลายดาวตรงกลางล้อมรอบด้วยลายและเขียนกรอบด้วยเส้นลวดเขียนเป็นลายเส้นดอกไม้สีแดงปิดทองเป็นวงกลมๆ ผนังเหนือซุ้มคูหาแบ่งเป็น 4 ชั้นชั้นบนเขียนรูปพระพุทธรูปสลับกับสาวก ผนังซัมคูหา สันนิษฐานว่า เขียนภาพชาดกในพระพุทธศาสนานับได้ 60 ชาติ มีภาพพระโพธิสัตว์ในชาดกต่างๆนั้น มีภาพที่พอเห็นชัดคือภาพโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น นก กวาง ช้าง กาเผือก คนขี่ม้า นกเขา สุนัข และหงส์นอกนั้นเลือนลางภายในห้องกรุชั้นนี้ เคยเป็นสถานที่เก็บสมบัติและของมีค่าไว้มากมาย อาทิ เช่น พระแสงขันธ์มงกุฎ และมงกุฏราชินี เสื้อทองคำ และพระพุทธรูปต่างๆ พระแก้ว พระทองคำ พระนาก เป็นต้นซึ่งในปี พ.ศ.2499 ขณะที่กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งภายในวัดมหาธาตุ คนร้ายได้ลักลอบขุดกรุในองค์ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะได้ของมีค่าจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงดำเนินการขุดกรุในองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง พบเครื่องราชูโภคซึ่งทำด้วยทองคำ พระพิมพ์ส่วนหนึ่งนั้นกรมศิลปากรได้เปิดให้ประชาชนเช่าไปบูชา เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งมาสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา และนำสิ่งของที่ได้จากกรุมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ

พระพุทธรูปและลวดลายศิลปะปูนปั้น รอบวัด

วัดราชบูรณะ

วิหารหลวง

โบราณสถานที่น่าสนอีกจุดหนึ่ง ตั้งอยู่ทั้งด้านหน้าทางเข้าวัด คือ วิหารหลวง เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐ โดยหลังคาได้พังหมดแล้ว  ยังคงมีซากเสาที่ยังคงหลงเหลือ รวมถึงฐานชุกชีของพระพุทธรูป  เมื่อมองจากข้างนอกจะเห็นพระปรางค์อยู่ในกรอบประตูพอดี และเห็นเจดีย์บางองค์อยู่ในกรอบหน้าต่าง  ซึ่งหากเราเที่ยวตามโบราณสถานบ่อยๆ จะสังเกตุว่าส่วนใหญ่มักจะสร้างประตู และหน้าต่าง ให้ตรงกับกับวิหารหรือโบสถ์ การสร้างวัดราชบูรณะจะเป็นที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีพระวิหารอยู่ด้านหน้า ถัดไปคือปรางค์ประธาน และอุโบสถอยู่ด้านหลัง

วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ

วัดราชบูรณะ อยุธยา

ที่อยู่ : ซอย ชีกุน ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เปิดให้เข้าชม : ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00–16.30 น.
ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

Google map : https://goo.gl/maps/a4v9fj4vezRguchS6