• หน้าแรก
  • วัดปัญญานันทาราม ชมเจดีย์พุทธคยาจำลอง ตื่นตาภาพสามมิติ

วัดปัญญานันทาราม ชมเจดีย์พุทธคยาจำลอง ตื่นตาภาพสามมิติ

วัดปัญญานันทาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นวัดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักว่าเป็นวัดที่หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ เป็นผู้ก่อตั้งและสร้างขึ้นโดยมุ่งหวังให้เป็นมรดธรรมและสถานที่ปฏิบัติธรรม สิ่งก่อสร้างที่โดดเด่น คือ เจดีย์พุทธคยาจำลองถอดแบบมาจากประเทศอินเดีย และอีกหนึ่งไฮไลท์ที่สำคัญ คือ ภาพปริศนาธรรมแบบ 3 มิติ หนึ่งเดียวในโลกที่จัดแสดงอยู่ด้านล่างเจดีย์พุทธคยา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปถ่ายรูป โดยแต่ละภาพจะมีความหมายแฝงไปด้วยคติธรรมสอนใจในเรื่องของอริยสัจ4 ที่เปิดให้เข้าชมฟรี หากใครที่มีจิตศรัทธาก็สามารถหยอดตู้ทำบุญได้

วัดปัญญานันทาราม

บรรยากาศโดยรวมของวัด สวยงามร่มรื่นสมกับเป็นสถานที่เหมาะกับการปฏิบัติธรรม  มีชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนาที่ทางวัดจัดกิจกรรมให้ พุทธศาสนิกชนได้เข้ามาร่วม  มีทั้งประเพณีที่มีสืบทอดมายาวนาน และกิจกรรมการบวชเนกขัมมะ ทุกวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันสำคัญทางศาสนา ตามเจตนารมณ์ที่พึงกระทำ

วัดปัญญานันทาราม

ด้านหน้าก่อนเข้าวัดเป็นที่ตั้งของเจดีย์พุทธคยาจำลองสีเทา มีบ่อน้ำสี่เหลี่ยมขนาดเล็กตั้งอยู่ตรงกลาง เดินตรงเข้าไปมีบันไดทางขึ้นไปยังเจดีย์ ตรงกลางเจดีย์มีรูปหล่อของหลวงพ่อปัญญาประดิษฐานอยู่ด้านหน้าให้ได้กราบไหว้ ความรู้สึกตอนที่กำลังเดินขึ้นบันไดไปสู่องค์เจดีย์ เหมือนกำลังเดินสู่สรวงสวรรค์

2-dew_4154

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

ถ่ายภาพคู่กับเจดีย์ที่สวยงามโดดเด่น บรรยากาศเหมือนมาเที่ยวอินเดีย

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

เข้าไปภายในพระเจดีย์มีพระประธานให้กราบไหว้และหย่อนตู้ทำบุญตามกำลังศรัทธา ด้านข้างเป็นสวนย่อมขนาดเล็ก มีซุ้มประตูแบบอินเดียสีแดงอิฐมีลวดลายปูนปั้นงดงาม

วัดปัญญานัน

วัดปัญญานัน

ส่วนด้านล่างของเจดีย์พุทธคยา มีภาพปริศนาธรรมสามมิติหนึ่งเดียวในโลก  ภาพทั้งหมดเกี่ยวกับอริยสัจ 4 ได้รับความอนุเคราะห์ตรวจตีความก่อนที่จะวาดและติดตั้งดำเนินการจริงจากหลวงพ่อปัญญานันทมุนี (ส.ณ. สุภโร) เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ และพระมหาเฉลิม ปิยทสฺสี เป็นเจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม วาดโดยบุคลากรและนักศึกษา มทร.ธัญบุรี ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวอริยสัจ 4 ได้อย่างลงตัว กลมกลืน และสอดคล้องกับบรรยากาศของวัดซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดปัญญา ภาพสามมิติเปิดให้เข้าชมเวลา 8.30-17.00น.

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

ภาพวาดมีทั้งหมด  29 ภาพ  โดยสอดแทรกหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาในเรื่องอริยสัจ 4 เพราะการที่จะเข้าถึงปัญญาเพื่อรู้เท่าทันความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของโลก จะต้องเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธและมรรค ซึ่งผู้เข้าชมสามารถสัมผัสผลงานศิลปะดังกล่าวนี้อย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดประสบการณ์ร่วมไปกับภาพ ชวนให้คิดและตระหนักถึงหลักธรรมคำสอนอย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่น่าเบื่อ โดยทุกๆภาพของที่นี้จะมีคำอธิบายทางธรรมทุกรูป

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

ภาพบำเพ็ญนวโลกุตตรธรรม (เสพเสนาสนะอันสงบ)

วัดปัญญานันทาราม

สะพานมเหสักข์-ศีล(สะพานแห่งความไม่ประมาท)

วัดปัญญานันทาราม

นฤมิตจันทรคราส (ความสามัคคีราหูกับดวงจันทร์)

วัดปัญญานันทาราม

ไถนาดินแห้ง ร้อนแล้งขัดใจ (ความลำบากยากแค้น)

วัดปัญญานันทาราม

มหาเจดีย์แห่งการตรัสรู้ มรรคผล (ลำดับแห่งมรรคผล 4 ระดับ)

วัดปัญญานันทาราม

ภาพอินทรีย์ (อายตนะ6)

วัดปัญญานันทาราม

ความโกรธ (จุดไฟเผาตัวเอง)

dsc_9236

สุดท้ายเป็นภาพการหลุดพ้นนิพพาน ประกอบด้วย ภาพทางสู่สวรรค์ และภาพนิพพาน (เรือสัมมาทิฏฐิ)

วัดปัญญานันทาราม

วัดปัญญานันทาราม

ประวัติวัดปัญญานันทาราม

ก่อตั้งจากดำริของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท) โดยมีคำปรารภในการก่อตั้งวัดไว้ว่าสร้างพระ สร้างคน สร้างเยาวชนของชาติ สร้างศาสนทายาทให้มีชีวิตอยู่ในโลกอย่างถูกต้อง ให้มีชีวิตเรียบร้อยตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจวัตถุมากเกินไป และได้มอบหมายให้ พระมหาสง่า สุภโร (ปัจจุบัน พระปัญญานันทมุนี) พระมหามานพ ปญฺญาวชิโร และพระมหาสมโภช ฐิติญาโณ ร่วมสนองงานก่อสร้างวัด และกิจกรรมงานเผยแผ่พระศาสนา โดยมุ่งเน้นการศึกษาอบรมปฏิบัติธรรม และเผยแผ่ธรรมตามหลักธรรมวินัย จนเป็นที่ยอมรับจากสถานศึกษา หน่วยงานราชการและ เอกชนหลายแห่ง ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี วัดปัญญานันทาราม เป็นวัดที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยเสด็จพระราชดำเนินมา 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ทรงวางศิลาฤกษ์สร้างวัดปัญญานันทาราม และทรงปลูกต้นสาละเพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ สวนสาละ และพระราชทานนามว่า “สวนสาละสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา”