วัดบ้านต้นแหลง ปัว

วัดบ้านต้นแหลง อำเภออปัว น่าน เป็นอีกหนึ่งวัดที่แสดงออกถึงความงดงามของวัฒนธรรมไทลื้อ ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ลักษณะของวิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลื้อแถบสิบสองปันนา ประตูทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านหน้ามีสิงปั้นคู่นั่งเฝ้าอยู่ หลังคาวิหารซ้อนลดหลั่นสามชั้น มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ลักษณะเด่นของวิหาร คือ หน้าต่างมีขนาดเล็กและแคบ แสงเข้าได้น้อยมาก บรรยากาศภายในจึงมือสลัว แต่สามารถมองเห็นองค์พระประธานที่สุกสว่าง น้อมนำให้เกิศรัทธา โดยเฉพาะช่วงเช้าที่แสงอาทิตย์ได้สาดส่องผ่านประตูด้านหน่ากระทบต่อองค์พระ ทำให้เกิดภาพที่งดงามมาก ที่มาของชื่อ”ต้นแหลง” มาจากฃือไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ทางภาคกลางเรียกว่า”ต้นยวงผึ้ง” ในอดีต ในหมู่บ้านนี้มีต้นแหลงเป็นจำนวนมาก  วัดต้นแหลงได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยล้านนา ที่สมควรได้รับการเผยแพร่ ประปี 2552 ประเภทอาคารทางศาสนาจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ