ปราสาทนครหลวง ชมศิลปะไทยขอม ขอพรพระพิฆเนศอายุ 100 ปี
ปราสาทนครหลวง ตั้งอยู่ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็น วัดอยุธยา โบราณสถานโบราณเก่าแก่ มีสถาปัตยกรรมสวยงาม โดดเด่นด้วยกำแพงอิฐที่รายล้อมพระอุโบสถที่ตั้งโดดเด่นตรงกลาง ผสมผสานศิลปะไทยและขอมได้อย่างงดงาม มีพระพิฆเนศโบราณที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ นักท่องเที่ยวต่างนิยมมาขอพร ไหว้พระพุทธบาทสี่รอย เพื่อความเป็นสิริมงคล
ประวัติปราสาทพระนครหลวง
ปราสาทนครหลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพ.ศ. 2147 พระองค์ได้โปรดให้ช่างจำลองแบบมาจากปราสาทที่กัมพูชาแล้วสร้างเป็นที่ประทับ ก่ออิฐถือปูนโดยนำมาสร้างใกล้กับวัดเทพจันทร์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก
ปราสาทนครหลวง สร้างไม่แล้วเสร็จในสมัยนั้น ต่อมาราวปี พ.ศ. 2352 ตาปะขาวปิ่น ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้น และมีการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานไว้บนลานชั้นบนของปราสาท ต่อมาจากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่าวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาท เป็นการสร้างเพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิม
สิ่งที่น่าสนใจภายในปราสาทนครหลวง
ตัวปราสาทพระนครหลวง
ปราสาทพระนครหลวงก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนเนินสูง ซึ่งทำขึ้นโดยการนำดินมาถมให้สูงขึ้น ในอดีตพระตำหนักเป็นประทับสำราญพระราชอิริยาบถของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปราสาทพระนครหลวง เป็นอาคารก่ออิฐสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 3 ชั้น มีระเบียงคตล้อมรอบ แต่ละชั้นมีประตูเข้าสู่ชั้นสูงสุดนับสิบประตู
ระเบียงคต
ระเบียงคต เชื่อมต่อระหว่างปรางค์แต่ละชั้นก่อผนังด้านนอกต่อกัน แต่ละทำช่องหน้าต่างปลอมเลียนแบบช่องลูกมะหวดคล้ายศิลปสถาปัตยกรรมที่นิยมทำกันในเขมรสมัยนครวัด
ปรางค์ประจำทิศ
ปรางค์ประจำทิศสี่มุม รูปทรงคล้ายปรางค์ขอมก่อด้วยอิฐ องค์ปรางค์มีการย่อมุมไม้ยี่สิบ มี ทั้งหมด 30 องค์ รูปทรงคล้ายปรางค์ขอม องค์ปรางค์มีการย่อมุมไม้ยี่สิบ ภายในปรางค์ประดิษฐาน องค์พระพุทธรูปภายในปรางค์คล้ายกับปรางค์ที่ วัดไชยวัฒนาราม
พระพิฆเนศโบราณ
พระพิฆเนศปางชนะมาร อายุกว่า 100ปี ประทับบัลลังก์กะโหลก ซึ่งตั้งอยู่ภายในปราสาทนครหลวง รวมถึงกระซิบหูหนูมุสิกะเพื่อขอพรและติดสินจ้างให้ไปบอกกับพระพิฆเนศ เพื่อให้พรนั้นสำเร็จ
พุทธบาทสี่รอย ในมณฑปจตุรมุข
พุทธบาทสี่รอย ที่ประดิษฐานในมณฑปจตุรมุขซึ่งมีลักษณะเป็นพระพุทธบาทซ้อนกันสี่รอยลึกลงไปในเนื้อหิน โดยรอยใหญ่ที่สุดกว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาว 5.50 เมตร
วัดนครหลวง
บริเวณปราสาทนครหลวงเป็นที่ตั้งของวัดนครหลวง มีอุโบสถสีขาวซึ่งคาดว่าสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีใบเสมาหินทรายแดงตั้งอยู่รอบอุโบสถ และมีพระประธานประดิษฐานอยู่ด้านใน
ปราสาทนครหลวง
ที่อยู่ : ต.นครหลวง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
เปิดให้เข้าชม :ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00